บทนํา
การรับความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมการลงทุน จุดประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงนั้น
ไม่ใช่เพื่อการลดความเสี่ยงออกไปทั้งหมด แต่เป็นกระบวนการในการบริหารเพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละ
หน่วยงานทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและจัดให้มีวิธีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม นอกจากนั้น
ผู้บริหารจะใช้ความรู้ความเข้าใจในความเสี่ขงเหล่านี้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
จุดประสงค์ของน โยบายการบริหารความเสี่ยง คือ การสื่อสารให้ทุกหน่วยงานเข้าใจกรอบการ
บริหารความเสี่ยง และแนวทางในการบริหารความสี่ขงให้อยู่ในระดับที่ขอมรับได้ เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละ
หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การรายงานความเสี่ยง การควบคุมความเสี่ยง และ
การติดตามความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
นโยบายการบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ เชื่อว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่จะช่วยให้บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายได้
บริษัทฯ มีการดูแลให้แต่ละหน่วยงานปฏิบัติตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ในการจัดการกับ
ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยมีการระบุ ติดตาม และรายงานความเสี่ยงต่อผู้บริหาร เพื่อจะได้จัดให้มีการ
ควบคุมความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะได้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
บริษัทฯ กำหนดนโขบายการบริหารความเสี่ยงโดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ
กฎหมาย และความถูกต้องของการรายงานงบการเงิน ไม่ว่าจะในระดับบริษัทฯ เอง หรือในระดับหน่วยงาน
นอกจากนี้ แนวทางบริหารความเสี่ยง ยังได้ทำควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการแลระบบการควบคุมภายใน
ที่ดีของบริษัทฯ
บริษัทฯ ใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นผู้ดูแลแลรับผิดชอบ
ความเสี่ยงจากระดับบนลงล่าง โดยมีบทบาทหน้าที่ในการ
ก) กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง
ข) ประเมินความเหมาะสมของน โบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และ
ค) ดูแลให้มีการนำนโขบายกรบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในไปปฏิบัติจริงและเพื่อที่จะ
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงนี้ได้
คณะกรรมการตรวจสอบ มีบทบาทหน้าที่ในการประเมินความพอเพียงของน โยบายการบริหาร
ความเสี่ยงและให้คำแนะนำต่อกณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร
ศูนย์กลางการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ คือ คณะกรรมการบริหาร โดยคณะกรรมการบริหารมี
บทบาทหน้าที่ในการติดตามและควบคุมความเสี่ยงหลักและปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างมี
นัยสำคัญต่อบริษัทฯ คณะกรรมการบริหารเป็นศูนย์รวมการบริหารความเสี่ยงเพราะมีศักยภาพในการเข้าถึง
ทุกหน่วยงานภายในบริษัท
พนักงานทุกคนในบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนซึ่งอาจส่งผล
กระทบต่อบริษัทฯ โดยรวม ทั้งนี้ วิธีการบริหารความเสี่ยงจากระดับล่างขึ้นบน คือการที่บริษัทฯ มอบหมาย
ให้แต่ละหน่วขงานดำเนินการประเมินความเสี่ยงและเสนอวิธีการจัดการและควบกุมความเสี่ยงเหล่านั้นเอง
โดยบริษัทฯ ได้ให้มีการจัดอบรมเพื่อให้ทุกหน่วยงานเข้าใจถึงกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่ง
มีวัดถุประสงค์เพื่อช่วยให้แต่ละหน่วขงานเรียนรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายในหน่วยงาน
ของตน และสามารถควบคุมและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบความเสี่ยงที่แต่ละหน่วยงานยอมรับได้
นอกจากนั้น คณะกรรมการบริษัทยังได้ตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีหน้าที่รวบรวมความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงานและประเมินความเสี่ยงของบริษัท
และขังมีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการตามกรอบการบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการ
บริษัท ทุกปี
นอกจากบทบาทหน้าที่ในการประเมินความมีประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ของระบบการ
ควบคุมภายในแล้วฝ่ายตรวจสอบภายในยังมีบทบาทที่สำคัญในการตรวจสอบกระบวนการ บริหารความ
เสี่ยงอย่างเป็นอิสระ
กรอบการบริหารความเสี่ยงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบริหาจัดการเชิงกล
ยุทธ์ของบริษัทฯ และออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสม
คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติน โยบายบริหารความเสี่ยงและกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
ๆ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีการจัดการและการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นไป
ในรูปแบบเดียวกัน นอกจากนั้นยังได้มอบหมายให้กณะกรรมการบริหารติดตามและควบคุมให้แต่ละ
หน่วยงานบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้
กรอบการบริหารความเสี่ยงนี้สามารถช่วยในการติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจสามารถบรรลุ
วัตถุประสงค์ในค้านการรายงานและตรวจสอบตามที่กำหนดไ ว้ สำหรับวัตถุประสงค์ในด้านกลยุทธ์และการ
ดำเนินงานซึ่งได้รับผลจากปัจัยภายนอก กรอบการบริหารความเสี่ยงถูกออกแบบเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหาร
และคณะกรรมการบริษัทได้ทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของแต่ละหน่วยงานในการปฏิบัติตาม
วัตถุประสงค์ต่างๆ
1. การกำหนดความเสี่ยง เพื่อระบุปัจจัยความไม่แน่นอนซึ่งมีผลกระทบในแง่ลบต่อองค์กร บริษัท
ฯ ได้พัฒนาขั้นตอนและวิธีการในการระบุปัจจัยความเสี่ยงซึ่งบริษัทฯ และแต่ละหน่วยงานมี
หน้าที่ระบุปัจัขความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยจะมีการตรวจสอบปัจจัยเหล่านี้เป็น
ประจำทุกปี นอกจากนี้ บริษัทฯ จะรวบรวมความเสี่ขงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการ
ตรวจสอบปัจจัยเหล่านี้เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ บริษัทฯ จะรวบรวมความเสี่ยงและ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้เห็นภาพรวมความเสี่ยงของกลุ่มบริษัท โดยจะแบ่งประเภทของ
ความเสี่ขงออกเป็น 4 ประเกทด้วยกัน คือ ความเสี่ขงค้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงค้านการปฏิบัติการ
ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงค้านการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย
โดยบริษัทฯ เชื่อว่าการบริหารความเสี่ยงด้วยตนเองนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด
2. การประเมินความเสี่ยง บริษัทฯ และแต่ละหน่วยงานได้จัดทำ "แผนผังความเสี่ยง" ขึ้น โคย
แผนผังความเสี่ยงนี้จะสรุปความเสี่ยงหลักซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเป้าหมายและผลการ
ดำเนินงานของบริษัท เช่น ผลประกอบการและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ ความ
เสี่ยงที่มีผลกระทบเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้ จะถือว่าเป็นความเสี่ยงหลักซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้
จะถูกวิเคราะห์และประมาณการในแง่โอกาสในการเกิดและความร้ายแรงของผลกระทบ
3. การรายงานความเสี่ยง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการรายงานความเสี่ยงนั้นมีความสำคัญ
อย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยส่งเสริมกระบวนการ
รายงานความเสี่ขงให้มีประสิทธิภาพ บริษัทฯ กำหนดให้แต่ละหน่วยงานจัดทำรายงานเพื่อสรุป
ตัวชี้วัดที่จำเป็นต่อการติดตามความเสี่ยงของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
4. การควบคุมความเสี่ยง บริษัทฯ และแต่ละหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอนและวิธีการบริหารความ
เสี่ยงเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ สำหรับความเสี่ยงที่ยังสูงกว่า
ระดับที่กำหนดไว้แต่ละหน่วยงานจะเสนอมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงเพิ่มเติมพร้อมกับ
การศึกษาประ โชชน์และค่ใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และปฏิบัติตามมาตรการนั้นเมื่อได้รับอนุมัติจาก
คณะกรรมการบริษัท
5. การติดตามความเสี่ยง การติดตามความเสี่ยงนี้จะเกี่ยวข้องกับทั้งการประเมินความเสี่ยงและการ
ประเมินระบบที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงมี
ประสิทธิภาพอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
โดยแต่ละหน่วยงานจะจัดทำรายงานเพื่อสรุปตัวชี้วัดพร้อมเกณฑ์ที่จะบ่งชี้ว่าธุรกิจได้รับหรือ
อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อติดตามและเฝ้าระวัง
ความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด กรณีที่ตัวชี้วัดถึงเกณฑ์ที่กำหนด หน่วยงานจะต้องแข้งผู้บริหารเพื่อ
จัดการกับความเสี่ยงนั้นทันที นอกจากนั้น แต่ละหน่วยงานจะรายงานการประเมินการบริหาร
ความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกไตรมาส และคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ใน
การประเมินความน่าเชื่อถือของกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยรวมเป็นประจำทุกปี ผ่าน
การประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน
-
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ( “บริษัทฯ” ) ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะผู้ถือหุ้น ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้รับมอบฉันทะ โดยได้กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านได้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทฯ ได้รับจะถูกนำไปใช้ตรงตามความต้องการของท่านและถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทฯ ขอแจ้งให้ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทราบถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนสิทธิตามกฎหมายของท่านที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนของท่านได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผย
บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อประโยชน์ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น และการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ เลขที่บัญชีเงินฝาก ข้อมูลการติดต่อ เช่น ที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร อีเมล หมายเลขไอพี (IP Address) ข้อมูลการบันทึกเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จำเป็นต้องขอให้ส่งภาพถ่าย และ / หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของท่านเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน ซึ่งข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนอาจมีข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา ปรากฎอยู่ และโดยที่บริษัทฯ ไม่มีเจตนาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนจากท่าน จึงขอความร่วมมือจากท่านปิดทึบข้อมูลในส่วนนั้นก่อนให้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแก่บริษัทฯ
วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย หรือมีฐานทางกฎหมายรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Obligation) เช่น การเรียกประชุมและการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น การยืนยันตัวตน การจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินการใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง หรือการดำเนินงานที่จำเป็นภายใต้ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทฯ หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น (Legitimate Interest) เช่น การจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ถ่ายทอดภาพและเสียงสำหรับการประชุม การบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวการประชุมเพื่อใช้เป็นหลักฐานของการประชุม การประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การรักษาความปลอดภัย รวมถึงเพื่อการอื่นใดที่จำเป็นโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และไม่เกินขอบเขตที่ท่านสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล
แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยตรง และ / หรือ อาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากนายทะเบียนหลักทรัพย์ เช่น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นด้วยวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายการคุ้มครองข้อมูลฉบับนี้ เช่น กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ศาล ผู้ประมวลผลข้อมูล ผู้ให้บริการภายนอก ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดูแลให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นผู้รับข้อมูลดังกล่าวเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้
ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ตามระยะเวลาที่จำเป็นในระหว่างที่ท่านเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ หรือตลอดระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ต่อไปภายหลังจากนั้นหากมีกฎหมายกำหนดหรืออนุญาตไว้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ บริษัทฯ จะมีการดำเนินการในขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุถึงตัวตนของท่านได้เมื่อหมดความจำเป็นหรือสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้เป็นอย่างดีตามมาตรการเชิงเทคนิค (Technical Measure) และมาตรการเชิงบริหารจัดการ (Organizational Measure) เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม และเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น มาตรฐานความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับข้อมูลไปจากบริษัทฯ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลนอกวัตถุประสงค์ หรือโดยไม่มีอำนาจหรือโดยไม่ชอบ บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นระยะๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
นอกจากนี้ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ผู้รับจ้าง ตัวแทน ที่ปรึกษา และผู้รับข้อมูลจากบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรการรักษาความลับที่บริษัทฯ กำหนด
สิทธิของท่านเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิของท่านเป็นสิทธิตามกฎหมาย อาทิ สิทธิขอถอนความยินยอม สิทธิขอเข้าถึงข้อมูล สิทธิขอถ่ายโอนข้อมูล สิทธิขอคัดค้าน สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล สิทธิร้องเรียน โดยท่านสามารถขอใช้สิทธิต่างๆ ได้ ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายและที่กำหนดไว้ในขณะนี้หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคตตลอดจนหลักเกณฑ์ตามที่บริษัทฯ กำหนดขึ้น ในกรณีท่านมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมาย ท่านสามารถขอใช้สิทธิโดยให้บิดาและมารดา ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทน เป็นผู้แจ้งความประสงค์
การใช้สิทธิของท่านข้างต้น อาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทฯ อาจปฏิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ เช่น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล เพื่อประโยชน์สาธารณะ การใช้สิทธิอาจละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เป็นต้น หากบริษัทฯ ปฏิเสธคำขอข้างต้น บริษัทฯ จะแจ้งเหตุผลของการปฏิเสธให้ท่านทราบ
วิธีการการติดต่อบริษัทฯ และ / หรือ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงการขอใช้สิทธิ ท่านสามารถติดต่อบริษัทฯ และ / หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านช่องทางดังนี้
โทร 02-6598000 ต่อ 8427
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อีเมล: [email protected]
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330