ทำความรู้จัก DR

DR เป็นตราสารที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถซื้อขายหุ้นหรือ ETF ในต่างประเทศได้
โดยผ่านการซื้อขาย DR ที่จดทะเบียนซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ผู้ออก DR จะเป็นคนไปซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศมาเก็บไว้ เพื่อใช้ออก DR นำมาเสนอขายให้นักลงทุนทั่วไป (IPO) ก่อนจะนำมาจดทะเบียนและซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเห็นว่า... ผู้ออก DR ไม่ใช่บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ในต่างประเทศ แต่จะทำหน้าเป็นผู้ที่ถือหลักทรัพย์ต่างประเทศแทนนักลงทุน

ดังนั้น นักลงทุนที่ถือครอง DR จึงเปรียบเสมือนกับถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผ่านใบ DR ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เนื่องจากซื้อขายด้วยเงินบาท ใช้บัญชีเดียวกันกับการซื้อขายหุ้นไทย เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป สิ่งเดียวที่แตกต่างกัน คือ Board Lot ของ DR จะซื้อขายได้สะดวกกว่าหุ้นทั่วไป

เพราะ DR นั้นซื้อขายได้ขั้นต่ำครั้งละ 1 DR ขณะที่หุ้นทั่วไปจะซื้อขายกันขั้นต่ำที่ Board Lot ละ 100 หุ้น

โดยผ่านการซื้อขาย DR ที่จดทะเบียนซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ซึ่งกระบวนการย่อมง่ายกว่าการออกไปลงทุนตรงในต่างประเทศ เพราะมีตัวกลางซึ่งก็คือผู้ออก DR ให้ช่วยบริหารจัดการให้… เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการยกหุ้นต่างประเทศมาให้ซื้อขายได้บนตลาดหุ้นไทย ในรูปแบบของการซื้อขาย “ใบรับฝาก” แทน

“ผู้ออก DR” จะเป็นคนไปซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศมาเก็บไว้ เพื่อใช้ออก DR นำมาเสนอขายให้นักลงทุนทั่วไป (IPO) ก่อนจะนำมาจดทะเบียนและซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเห็นว่า... ผู้ออก DR ไม่ใช่บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ในต่างประเทศ แต่จะทำหน้าเป็นผู้ที่ถือหลักทรัพย์ต่างประเทศแทนนักลงทุน ดังนั้น นักลงทุนที่ถือครอง DR จึงเปรียบเสมือนกับถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านใบ DR ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เนื่องจากซื้อขายด้วยเงินบาท ใช้บัญชีเดียวกันกับการซื้อขายหุ้นไทย เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป สิ่งเดียวที่แตกต่างกัน คือ Board Lot ของ DR จะซื้อขายได้สะดวกกว่าหุ้นทั่วไป

เพราะ DR นั้นซื้อขายได้ขั้นต่ำครั้งละ 1 DR ขณะที่หุ้นทั่วไปจะซื้อขายกันขั้นต่ำที่ Board Lot ละ 100 หุ้น

มาถึงตรงนี้หลายคนคงสนใจและอยากเริ่มซื้อขาย DR แล้วใช่ไหม?

สัญลักษณ์ย่อของ DR จะประกอบด้วยตัวอักษรความยาวสูงสุดไม่เกิน 10 ตัว ดังนี้

เราสามารถลงทุน DR ในระยะสั้น เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทน หรือสร้างพอร์ตเพื่อการลงทุนในระยะยาว ซึ่งการปรับพอร์ตหรือการขายหลักทรัพย์ เพื่อรับเป็นเงินสดสามารถทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเสี่ยงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนตลอดเวลา

การถือ DR มีโอกาสได้รับเงินปันผลหรือสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เมื่อไหร่ที่หุ้นแม่หรือ ETF ประกาศจ่ายเงินปันผล เราก็จะได้รับเงินปันผลเช่นเดียวกัน แต่ก็มีเงื่อนไขเล็กน้อย คือ เงินปันผลที่เราจะได้รับนั้น จะถูกหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก (ถ้ามี) เราจึงต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน จะได้ไม่พลาดเมื่อคิดจะเริ่มลงทุน DR การลงทุนใน DR จะช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนจากที่ถือหุ้นไทย และสามารถกระจายสัดส่วนการลงทุนไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งยังสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นสำหรับนักลงทุน

ผลตอบแทนและความเสี่ยงของ DR มีอะไรบ้าง? และคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือเปล่า? เราสามารถพิจารณาได้ ดังนี้

ผู้ที่ถือ DR จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเสมือนถือครองหลัก ทรัพย์ต่างประเทศนั้นๆ โดยตรง โดยแบ่งผลตอบแทนออกเป็น 2 ส่วน

กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่นักลงทุนจะได้รับหากสามารถขาย DR ได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตอนที่ซื้อมา แต่หากทิศทางราคาไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ก็มีโอกาสขาดทุนเช่นกัน

โดยผู้ถือ DR มีโอกาสได้รับเงินปันผลหรือสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เมื่อไหร่ที่หุ้นแม่หรือ ETF ประกาศจ่ายเงินปันผล เราก็จะได้รับเงินปันผลเช่นเดียวกัน แต่ก็มีเงื่อนไขเล็กน้อย คือ เงินปันผลที่เราจะได้รับนั้น จะถูกหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก (ถ้ามี) เราจึงต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน จะได้ไม่พลาดเมื่อคิดจะเริ่มลงทุน DR

ขึ้นชื่อว่าการลงทุนแล้ว ย่อมต้องมีเรื่อง “ความเสี่ยง” ให้ต้องคอยระวัง ซึ่งความเสี่ยงของ DR ก็เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น ที่บางครั้งเราอาจจะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคตผิด ทำให้เราขาดทุนจากราคาตลาดที่ลดต่ำลงมากว่าต้นทุนราคาที่เข้าซื้อ และถึงแม้ว่าการลงทุนใน DR นักลงทุนจะทำการซื้อขายโดยใช้เงินสกุลบาท แต่โดยทั่วไปแล้ว ราคา DR ควรจะใกล้เคียงกับราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ปรับค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจาก 1 DR เทียบเท่ากับหุ้นต่างประเทศ 1 หุ้น หรือ ETF ต่างประเทศ 1 หน่วย นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึง “ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน” ควบคู่ไปกับการติดตามราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบในการลงทุน DR

DR เป็นตราสารที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถซื้อขายหุ้นหรือ ETF ในต่างประเทศได้

นอกจากนี้ นักลงทุนยังควรพิจารณา “ความน่าเชื่อถือ” หรือความสามารถในการให้บริการต่างๆ ของผู้ออก DR ที่ปัจจุบันอนุญาตให้เฉพาะบริษัทหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกประกอบกันไปด้วย

การลงทุนใน DR ไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนจากที่ถือหุ้นไทย 100%

ด้วยการกระจายสัดส่วนการลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น แถมยังสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ข้อดีเยอะแบบนี้ คงต้องมีติดพอร์ตไว้บ้างแล้ว

นักลงทุนสามารถซื้อขาย DR ผ่านโปรแกรม Streaming บน Windows PC หรือ Streaming Application (iOs/ Android)
ประเภทบัญชีที่รองรับ: บัญชีหุ้นประเภทเงินสด หรือ ประเภทเงินฝาก การชำระราคา: แบบ T+2
ลักษณะการซื้อขาย และประเภทของคำสั่ง: เสมือนการซื้อขายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET)
ระยะการซื้อขาย: ตามเวลา SET (09.30-17.00น.) ไม่มีช่วงพักกลางวัน
ขนาดการซื้อขายขั้นต่ำ: 1 DR (ส่งเป็นจำนวนหน่วย DR)

สำหรับการลงทุนใน DR เราจำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาของ DR เพื่อจะได้พิจารณาและติดตามการลงทุนได้
อย่างเหมาะสม ซึ่ง 3 ปัจจัยหลักที่มีส่วนในการกำหนดราคา DR นั้น ได้แก่

1. ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศ

เราควรติดตามว่า... ปัจจุบันราคาของสินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุนนั้นอยู่ที่เท่าไหร่? ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาของสินทรัพย์ว่าเป็นอย่างไร นอกจากปัจจัยเฉพาะตัวแล้วยังมีผลจากสภาพตลาดและเศรษฐกิจของประเทศที่สินทรัพย์อ้างอิงนั้นทำการซื้อขายอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ราคา DR ปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้ โดยอาจมีในบางช่วงเวลาที่ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศมีความผันผวนก็จะส่งผลกระทบให้ราคา DR นั้นๆ ต้องผันผวนตามไปด้วยเช่นกัน

แต่นักลงทุนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะติดตามข่าวสารของหลักทรัพย์ที่ DR นั้นอ้างอิงไม่ทัน เพราะสำนักงาน ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดให้ผู้ออก DR ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการเปิดเผยในต่างประเทศ และนำข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมาเผยแพร่แก่นักลงทุน DR ผ่านช่องทางการเผยแพร่ข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้นักลงทุน DR สามารถติดตามข่าวสารและได้รับข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนใน DR ได้อย่างเหมาะสม และเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผู้ออก DR จะขอให้มีการขึ้นเครื่องหมายต่างๆ เช่น XD, H, SP ตามหลักทรัพย์ต่างประเทศในตลาดแม่ เพื่อให้นักลงทุน DR ได้รับข่าวสารที่เท่าเทียมกัน

2. อัตราแลกเปลี่ยน

แม้ว่าเราจะสามารถซื้อขาย DR ได้ในตลาดหุ้นไทยด้วยเงินสกุลบาท แต่เวลาที่เราซื้อขายนั้นต้องอ้างอิงกับราคาหุ้นหรือราคาสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศ อ้างอิงกับเงินสกุลนั้นๆ ที่สินทรัพย์จดทะเบียนอยู่ ดังนั้นเมื่อค่าเงินเปลี่ยนแปลงก็ย่อมส่งผลกับราคา DR ในบ้านเราให้แพงกว่า หรือ ถูกกว่า ในบางช่วง ซึ่งค่าเงินทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางเงินไหลเข้าหรือเงินไหลออกแต่ละประเทศ โดย DR ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ในต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินด้วยเช่นกัน

3. ความต้องการของนักลงทุน

เหมือนกับหลักทรัพย์ทั่วไปถ้ามีแรงซื้อเข้ามามากในบางช่วงก็อาจทำให้ราคา DR ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติได้ สำหรับในตลาดหุ้นไทยบ่อยครั้งที่เราจะเห็นการเคลื่อนไหวของราคาที่มากกว่าปกติจากแรงซื้อหรือแรงขาย ใน DR ก็เช่นกันที่ในบางครั้งอาจมีปัจจัยหรือมีความต้องการซื้อหรือขายผ่านตลาดหุ้นไทยมากกว่าปกติในบางช่วงเวลา ซึ่งอาจทำให้ราคา DR เมื่อเทียบกับราคาสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศอาจคลาดเคลื่อนกัน ดังนั้น ในการพิจารณาก่อนเข้าซื้อ นักลงทุนควรดูในเรื่องของราคาว่ามีความผิดปกติหรือไม่ก่อนที่จะเข้าซื้อทุกครั้ง

แม้ DR จะมีลักษณะคล้ายหุ้น แต่ก็มีข้อแตกต่างในบางเรื่องที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม เช่น หลักทรัพย์ที่สามารถนำมาออกเป็น DR ได้ ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และการส่งคำสั่งซื้อขาย เป็นต้น การทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

หลักทรัพย์ที่สามารถนำมาออกเป็น DR ได้

UTRADE Newsletter